การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus บนโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาและบุคลากร วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 23, 2022
คำสำคัญ: โทรศัพท์มือถือ, Staphylococcus aureus, นักศึกษา, บุคลากร
ชลธิชา โหนชัย
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปวีณา ลิมปิทีปราการ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลและการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และศึกษาความชุกของการปนเปื้อนแบคทีเรีย Staphylococcus aureus (S. aureus) บนโทรศัพท์มือถือของนักศึกษา และบุคลากรของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยการใช้แบบสอบถาม และเก็บตัวอย่างแบคทีเรียมาวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 58 คน ในเดือนมีนาคม 2562 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 51.70) โดยใช้กระดาษทิชชูเช็ดทำความสะอาด (ร้อยละ 19.0) ความถี่ในการทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ จะอยู่ในช่วง 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ (ร้อยละ 46.60) ส่วนใหญ่ใส่เคสโทรศัพท์ (ร้อยละ 93.10) และพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. (ร้อยละ 96.60) โดยเป็นเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ร้อยละ 12.10 และเป็นแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. อื่นๆ ร้อยละ 84.50 กลุ่มคนที่ไม่มีการทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 48.30) จะพบแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococcus spp. อื่นๆ มากที่สุด (ร้อยละ 39.70) และพบแบคทีเรีย S. aureus มากที่สุด (ร้อยละ 6.90) เมื่อจำแนกตามการทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือกับการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียพบว่า การทำความสะอาดโดยใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ด ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และพบว่าการไม่ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus มากกว่าการทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ 1.43 เท่า ดังนั้น ควรส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพต่อไป

 

References

เอกสารอ้างอิง   

National Statistical Office. The 2019 household survey on the use of information and communication technology; 2019. [cited 2021 April 10], Available from National Statistical Office Website: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2562/full_report62.pdf (in Thai)

Kitisri C, Nokham R, Phetcharat K. A smartphone using behavior and health status perception of nursing students. Community Health Development Quarterly, KKU 2017; 5(1): 20-34. (in Thai)

Zakai S, et al. Bacterial contamination of cell phones of medical students at King Abdulaziz University,Jeddah, Saudi arabia. JMAU 2016; 4(3):143-146.

Homthong S, Nilphan D, Wirathana W and Dechglar N. Preliminary Study of Distribution of Total Bacteria Count and Staphylococcus aureus on Public Computer Mice and Keyboards and Mobile Phones in Burapha University, Chonburi Province. Burapha Sci J 2014; 19(2): 28-38. (in Thai)

Che-hat Y and Niyasom C. Prevalence and Antimicrobial Susceptibility of Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus Isolated from Anterior Nares of Students in Thaksin University, Phatthalung Campus. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports 2012; 15(3): 25-32. (in Thai)

Homthong S, Tanwutthibandit J, Dungkong N, Boodngam A, Nilnoree B. Prevalence of Staphylococcus aureus and Bacillus cereus in Sushi. Burapha Sci J 2011; 16(1): 69-76. (in Thai)

Homthong S, Intanon K, Dechsanga R, Onsuwan A. Prevalence of total bacteria and Staphylococcus aureus on healthcare workers' mobile phone in hospital at Amphoe Meuang Chonburi, Chonburi Province. J Sci Tech UBU 2017; 19(1): 41-50. (in Thai)

Boapuean J, Pholdongnok S, Kosuwan W, Pitak P and Chaimanee P. The study of prevalence of Staphylococcus aureus in health personal's mobile phone of Srinagarind Hospital. Srinagarind Med 2007; 22(5): 147. (in Thai)

Siriwong N, Chukeatirote E. Antibiotic resistance in Staphylococcus aureus and controlling. J Health Sci Med Res 2009; 27(4): 347-358. (in Thai)

Danieal WW, Cross CL. Biostatistics: A foundation for analysis in the Health Sciences. 10th ed. United States of America: John Wiley & Sons, Inc; 2013.

Aryal S. Manitol salt agar for the isolation of Staphylococus aureus; 2019. [cited 2021 April 10], Available from: https://microbiologyinfo.com/mannitol-salt-agar-for-the-isolation-of-staphylococcus-aureus/

Suanpairintr N. Microbiological risk assessment and risk communication of street foods in Yaowarat road; 2020. [cited 2021 April 10], Available from: http://foodsanitation.bangkok.go.th/assets/uploads/ document/document/ 20220120_60768.pdf (in Thai)

Thomas W. and Oller AR. Staphylococcus and Pseudomonas Isolated from mobile phones and cheek and ear locales. J Adv Med Med Res 2016; 11(6): 1-8.