การพัฒนา SUT Cancer Care® Chatbot เพื่อให้ความรู้สำหรับผู้ดูแลเด็กป่วยด้วยโรคมะเร็ง

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 23, 2022
คำสำคัญ: โปรแกรมแชทบอท, การให้ข้อมูล, ผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง, ผู้ดูแล
ภัทรภร สฤษชสมบัติ
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บัณฑิตา นฤมาณเดชะ
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สมชาย ชัยจันทร์
สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 

บทคัดย่อ

          โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความรุนแรง คุกคามต่อชีวิต และมีการรักษาที่ซับซ้อน การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งถือว่าเป็นสถานการณ์วิกฤตสำหรับเด็กและสมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลและเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเจ็บป่วยและการรักษาที่หลากหลาย ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค การรักษา ยาเคมีบำบัด และการดูแลตนเอง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมแชทบอท (SUT Cancer Care® Chatbot program) ในการให้ข้อมูลสำหรับผู้ดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดอาไจล์ (AGILE) ในการพัฒนาเครื่องมือในการให้ข้อมูลกับผู้ดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง เนื้อหาและการออกแบบผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.81 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ทำการทดสอบเบื้องต้นด้วยการศึกษาแบบทดสอบก่อน-หลัง กลุ่มเดียว กับผู้ดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง สรุปว่า โปรแกรมแชทบอท (SUT Cancer Care® Chatbot program) ใช้งานได้สะดวก มีความน่าสนใจ เนื้อหาเข้าใจได้ง่าย (ร้อยละ 100.0) และมีเนื้อหาครอบคลุมตรงกับความต้องการ (ร้อยละ 85.70) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 85.80 เป็น ร้อยละ 94.20 สรุปโปรแกรมแชทบอทที่พัฒนาโดยใช้กรอบแนวคิด AGILE มีความเหมาะสมและช่วยให้ผู้ดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในการวิจัยครั้งต่อไป

 

References

เอกสารอ้างอิง   

Imsamran W, Chaiwerawattna A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K, Sangrajrang S,
et al. Cancer in Thailand Vol.VII, 2010-2012. Bangkok: Thammada Press; 2015. (in Thai).

Capo G, Waltzman R, Managing hematologic toxicities. J Support Oncol. 2004;(1):65-79.

Tharnprisan P, Khiewyoo J, Sripraya, P, Wiangnon S. Relapse-free rate with childhood acute lymphoblastic leukemia treated under the Thai National Protocol. Asian Pac J Cancer Prev. 2013;12(2):1127-30. doi.org/10.7314/APJCP.2013.14.2.1127

Sonkongdang W, Kantawang S, Niyomkar S. Factors influencing caregiver’s behaviors regarding nutritional care for preventing infection in leukemic children with chemotherapy induced neutropenia. Nursing Journal. 2015;42(December): 94-106. (in Thai).

Yimkosol S, Lertwatthanawilat W, Boonchieng E, Boonchieng W. Development of smartphone application in preventing infection for caregivers of children with cancer receiving chemotherapy. Nursing Journal. 2020;47(3): 192-202. (in Thai).

Grepon G, Baran N, Gumonan K, Matinez A, Lasca M. Designing and implementing e-school system: An information system approach to school management of a community college in Northern Mindanao, Philippines. International Journal of Computing Sciences Research. 2021:5(1). doi:10.25147/ijcrs.2017.00.1.1.74

Okeke N. Agile methodology: Meaning, advantages, disadvantages & more. 2021; [cited 2022 November 15]. Available from: https://www.targettrend.com/agile-methodology-meaning-advantages-disadvantages-more/

Kitisri C, Nokham R, Phetcharat K. Smartphone using behavior and health status perception of nursing students. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University. 2017;5(1):19-34. (in Thai).

Inpasoed S, Rukhiran M, Bunpalwong M. Automatic chatbot for answering disease of elderlies. 4th conference Kasetsart University Sriracha Campus 28th August 2020 at Kasetsart University Sriracha Campus. (in Thai).

Jankaew W, Jaikaew S. An application on chat fuel for publication for public relation, A case study of the library resources and educational media center, University of Phayao. PULINET Journal. 2018;5(2):137-47. (in Thai).