ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลด่านช้าง

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 18, 2023
คำสำคัญ: ความรู้, เจตคติ,
การปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
สุพรรษา รุ่งเรือง
โรงพยาบาลด่านช้าง
นันทา สุนทรวิภาต
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

   การวิจัยเชิงการบรรยายแบบศึกษาไปข้างหน้า เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลด่านช้าง จำนวน 96 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน แบบสอบถามเจตคติต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน และแบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงาน มีค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .71, .83 และ .71 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 62.50) เจตคติต่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 100.0) (Mean = 4.74, SD = 0.31) และการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.65, SD = 0.34) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม มีการปฏิบัติมากที่สุด (Mean = 4.86, SD = 0.27) รองลงมาคือ ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม และด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล (Mean = 4.64, SD = 0.35; Mean = 4.57, SD = 0.35) ตามลำดับ

 

References

เอกสารอ้างอิง   

1. Centers for Disease Control and Prevention. Antibiotic resistance threats in the United States. Atlanta, GA: U.S. Department of Health and Human Services, CDC; 2019.

2. Unalekhaka A. Surveillance and outbreak investigate of hospital associated infections. Chiangmai: Mingmuangnawarat Publishing; 2013. (in Thai)

3. Haque M, Sartelli M, McKimm J, Abu Bakar M. Health care-associated infections-An overview. Infect Drug Resist 2018;11:2321-33. doi:10.2147/IDR.S177247

4. Magill SS, O'Leary E, Janelle SJ, Thompson DL, Dumyati G, Nadle J, et al. Changes in prevalence of health care-associated infections in U.S. hospitals. N Engl J Med 2018;379(18):1732-44. doi:10.1056/NEJMoa1801550

5. Detsri P, Kasatpibal N, Viseskul N. Effects of multimodal strategies on knowledge and practices for prevention of multidrug-resistant organisms’ transmission among nurses, semi-critical care unit, regional hospital. Nursing Journal 2021;48(3):154-66. (in Thai)

6. Napradit A. Knowledge attitudes and practices of standard precaution among personnel. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2016;47(2):133-42. (in Thai)

7. Punpop M, Malathum P, Malathum K. A comparison of adherence rates to guidelines for contact precautions between healthcare workers performing low-risk and high-risk activities for body fluid exposure to patients with multidrug-resistant organisms. Rama Nurs J 2022;28(3):385-99. (in Thai)

8. Chidvilay S. Knowledge attitudes and behaviors related to the prevention and control of infection in hospitals nursing profession Ratchaburi. [thesis]. Silpakorn University; 2013. (in Thai).

9. Bloom BS, Engelhart MD, Furst EJ, Hill WH, Krathwohl DR. A taxonomy of educational objectives: Handbook I the cognitive domain. Longman, Green Co.: New York.; 1956.

10. Anderson LW, Krathwohl DR. A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman; 2001.

11. Schwartz DJ. Implications for personnel measurement. Personal Psychology 1976;29:521-6.

12. Bunruam C, Unahalekhaka A, Lertwatthanawilat W. Factors predicting practices in prevention of drug resistant organism transmission among registered nurses in regional hospitals. Nursing Journal 2020;47(2):133-42. (in Thai)