ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลด่านช้าง:
การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 18, 2023
คำสำคัญ: แผลกดทับ, ปัจจัยที่ส่งผล, แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด
แผลกดทับของบราเดน
สุรีพร สินสุภางค์
โรงพยาบาลด่านช้าง
สิริพร สรหงษ์
โรงพยาบาลด่านช้าง
สุพรรณี นุชสงดี
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสืบย้อนแบบจับคู่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดแผลกดทับ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยสามัญ โรงพยาบาลด่านช้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เกิดแผลกดทับ กลุ่มละ 33 คน มาทำการศึกษาโดยการเลือกตัวอย่างจับคู่ แบบ 1:1 เครื่องมือวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติทดสอบ Chi-square test ผลการวิจัยพบว่า จำนวนวันนอนและคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยสามัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ดัชนีมวลกายและระดับอัลบูมิน ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยสามัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดนและจำนวนวันนอน สามารถร่วมกันทำนายการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยสามัญได้ร้อยละ 53.60 (Cox & Snell R2 = .54) โดยคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน สามารถทำนายการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยสามัญได้ 0.54 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

เอกสารอ้างอิง   

1. Alderden J, Rondinelli J, Pepper G, Cummins M, Whitney J. Risk factors for pressure injuries among critical care patients: A systematic review. Int J Nurs Stud 2017;71:97-114. doi:10.1016/j.ijnurstu.2017.03.012

2. Khamnuan P, Chuayunan N, Deaupakarakul S. Efficacy of clinical practice guidelines for prevention pressure injury in risk patients, Phayao Hospital. Hua Hin Medical Journal 2018;3(2):89-101. (in Thai)

3. European Pressure Ulcer Advisory Panel, National Pressure Injury Advisory Panel, and Pan Pacific Pressure Injury Alliance. Prevention and treatment of pressure ulcers/injuries: The international guideline 2019. Emily Haesler: EPUAP/NPIAP/PPPIA;2019.

4. Krupp AE, Monfre J. Pressure ulcers in the ICU patient: An update on prevention and treatment. Curr Infect Dis Rep 2015;17(3):468. doi:10.1007/s11908-015-0468-7

5. Coyer F, Tayyib N. Risk factors for pressure injury development in critically ill patients in the intensive care unit: a systematic review protocol. Syst Rev 2017;6(1):58. doi:10.1186/s13643-017-0451-5

6. Bootthumpan O, Lavin W. Association between risk factors and pressure injury patients in cardiac care unit: A retrospective matched-paired case control study design. Mahidol R2R e-Journal 2019;7(1):140-8. (in Thai)

7. Chanchalerm K, Hamilton S, Arsaviset L, Chaimay B, Woradet S. Predictive and protective factors related to the occurrence of pressure injuries among critically-ill surgery patients: A retrospective, case-control study. Journal of Health and Nursing Education 2022;1(28):1-15e25789. (in Thai)

8. Alderden J, Cowan LJ, Dimas JB, Chen D, Zhang Y, Cummins M, et al. Risk factors for hospital-acquired pressure injury in surgical critical care patients. Am J Crit Care 2020;29(6):e128-e134. doi:10.4037/ajcc2020810

9. Ding L, Hu X, Wei L, Sun M, Sun G, Jiang G, et al. Risk factors for hospital-acquired and community-acquired pressure injuries: A multicentre mixed case-control study. BMJ Open. 2022;12(4):e057624. doi:10.1136/bmjopen-2021-057624

10. Pukkaeraka W, Vibulchai H, Somgit W, Dejsiri S, Innok J, Praphatphong S. Factors associated with pressure ulcers among neurosurgical critical patients. Mahasarakham Hospital Journal 2022;19(2):140-153. (in Thai)

11. Cox J, Edsberg LE, Koloms K, VanGilder CA. Pressure injuries in critical care patients in US Hospitals: Results of the international pressure ulcer prevalence survey. J Wound Ostomy Continence Nurs 2022;49(1):21-8. doi:10.1097/WON.0000000000000834

12. Kim P, Aribindi VK, Shui AM, Deshpande SS, Rangarajan S, Schorger K, et al. Risk factors for hospital-acquired pressure injury in adult critical care patients. Am J Crit Care 2022;31(1):42-50. doi:10.4037/ajcc2022657