คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไต: การศึกษาเปรียบเทียบ

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 18, 2023
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตผู้ป่วย
โรคไตเรื้อรัง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การล้างไตทางช่องท้อง
แบบต่อเนื่อง
วีณา สุทธิดี
โรงพยาบาลด่านช้าง
ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
นพวรรณ สุนทรวิภาต
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

  การวิจัยเชิงบรรยายแบบศึกษาเปรียบเทียบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 19 คน และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง จำนวน 14 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในโรคไตเรื้อรัง มีค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องมีคุณภาพชีวิตทั่วไปโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำมาก (MeanHD = 48.00, SDHD = 18.00; MeanPD = 44.91, SDPD = 15.64) และคุณภาพชีวิตโรคไตมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (MeanHD = 64.06, SDHD = 8.90; MeanPD = 64.53, SDPD = 17.86) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องพบว่า คุณภาพชีวิตทั่วไป คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ และคุณภาพชีวิตโรคไต แตกต่างกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์มิติต่างๆ ของคุณภาพชีวิตโรคไต พบว่า การให้กำลังใจของเจ้าหน้าที่ไตเทียม ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกับกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = .026)

 

References

เอกสารอ้างอิง   

1. Bello AK, Okpechi IG, Osman MA, Cho Y, Htay H, Jha V, et al. Epidemiology of haemodialysis outcomes. Nat Rev Nephrol 2022;18(6):378-95. https://doi.org/10.1038/s41581-022-00542-7

2. The Nephrology Society of Thailand. Guideline of hemodialysis and plasma filtration for kidney disease patients. Bangkok: The Nephrology Society of Thailand; 2020. (in Thai)

3. Chinnoros S, Depanya C. Quality of life and effecting factors in patients undergoing dialysis: A comparative study. Journal of Health and Health Management 2020;5(2):54-67. (in Thai)

4. Yeesunkaew R, Na Nongkhai S, Shayakul C, Sujirarat D. Quality of life in end stage renal disease patients undergoing hemodialysis according to the different health benefit schemes. Vajira Nursing Journal 2016;18(1):79-90. (in Thai)

5. Treesorn K. Quality of life of patients with chronic kidney disease who had renal replacement therapy. Mahasarakham Hospital Journal 2018;15(1):13-20. (in Thai)

6. Rini IS, Rahmayani T, Sari EK, Lestari R. Differences in the quality of life of chronic kidney disease patients undergoing hemodialysis and continuous ambulatory peritoneal dialysis. J Public Health Res 2021;10(2):2209. doi:10.4081/jphr.2021.2209

7. Chuasuwan A, Pooripussarakul S, Thakkinstian A, Ingsathit A, Pattanaprateep O. Comparisons of quality of life between patients underwent peritoneal dialysis and hemodialysis: A systematic review and meta-analysis. Health Qual Life Outcomes 2020;18(1):191. doi:10.1186/s12955-020-01449-2

8. Hays R, Kallich J, Mapes D, Coons S, Amin N, Carter W, et al. Kidney Disease Quality of Life-Short Form (KDQOL-SFTM), version 1.3: A manual for use and scoring. Santa Monica: RAND; 1997.

9. Homjean K, Sakthong P. Translation and cognitive testing of the Thai version of the Kidney Disease Quality of Life short-from questionnaires version 1.3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2010;2(1): 3-13. (in Thai)

10. Howell DC. Statistical methods for psychology. 8th ed. Belmont, California: Wadsworth Cengage Learning; 2013.

11. Laolam N, Kriyasin P, Palakul W, Chimpalee A, Halue G, Chandeying V. Quality of life assessment among patients on hemodialysis and peritoneal dialysis at Phayao Hospital. Naresuan Phayao Journal 2014;7(2):172-7. (in Thai)

12. Itarat P. Nursing care of end stage renal failure with infected continuous ambulatory peritoneal dialysis patient: Case study 2 case. Mahasarakham Hospital Journal 2018;15(2):95-110. (in Thai)

13. Noppakun K, Panyathong S, Dandecha P, Nochaiwong S, Koyratkoson K, Chaisai C, et al. Peritoneal dialysis patients care: Treatment, surveillance, and prevention of peritoneal dialysis related infection using evidence-based. Research Project of Health Systems Research Institute (HSRI) with National Research Council of Thailand (NRCT); 2017. (in Thai)