พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลด่านช้าง

PDF

เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 26, 2023
คำสำคัญ: พฤติกรรมการดูแลตนเอง,
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2,
ระดับน้ำตาลในเลือด
ดวงรัตน์ หาญพุฒ
โรงพยาบาลด่านช้าง
นวลพรรณ ระโหฐาน
โรงพยาบาลด่านช้าง

 

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงการบรรยายแบบศึกษาไปข้างหน้า เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเปรียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้กับไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาตรวจรักษาในคลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลด่านช้าง จำนวน 283 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบ independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C) เฉลี่ยเท่ากับ 7.32 (SD = 1.55) แสดงว่าผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.03, SD = 0.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานยา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (Mean = 4.48, SD = 1.05) รองลงมาคือ ด้านการดูแลรักษาต่อเนื่อง (Mean = 4.39, SD = 0.86) และด้านการจัดการกับความเครียด (Mean = 4.06, SD = 1.00) ตามลำดับ ขณะที่ด้านการออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (Mean = 3.21, SD = 1.41) และพฤติกรรมการดูแลตนเองระหว่างผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C  7%) กับผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (HbA1C > 7%) โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

เอกสารอ้างอิง   

1. International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas (10th eds.); 2021. [cited 2023 March 30], Available from: https://diabetesatlas.org/atlas/tenth-edition/

2. Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Public health statistics B.E. 2021. Bangkok: The War Veterans Affairs Office Printing; 2022.

3. Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice (6th eds.). St. Louis: Mosby; 2001.

4. Peerawankul N. Self-care behavior of type 2 diabetes patients at Prankratai Hospital Kamphaeng Phet Province. Science and Technology Northern Journal 2022;3(3):39-55. (in Thai)

5. Sasipattarapong A. Knowledge and self-care behaviors among type 2 diabetes patients in Chumphae primary care cluster, Chumphae District, Khon Kaen. Nakhornphanom Hospital Journal 2022;9(1): e256081. (in Thai)

6. Sroisong S, Rueankon A, Ngaoratsame J, Janwijit S, Fuongtong P, Kaewtankham K. Self-care behavior among patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of Disease and Health Risk DPC.3 2020;14(1):35-47. (in Thai)

7. Siangdung S. Self-care behaviors of patients with uncontrolled DM. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4(1):191-204. (in Thai)

8. Best JW, Kahn JV, Jha AK. Research in education (10th eds.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.; 2016.

9. Junsukon E, Srijaroen W, Samruayruen K. Factors predicting self-care behaviors in type II diabetes mellitus patients in Amphoe Mueang, Phitsanulok Province. Eau Heritage Journal Science and Technology 2017;11(3):229-39. (in Thai)

10. Khuneepong A. Factors influencing self-care behavior of type 2 diabetic mellitus patients in Phatthana Nikhom District, Lop Buri Province. Journal of the Department of Medical Services 2018;43(3):101-7. (in Thai)

11. Nochit W, Sa-nguansaj S, Kerdmuang S, Sooksom S, Dumkum B, Nawamawat J. Predictive factors of self-health care among patients with type 2 diabetes in Sapphaya district, Chainat Province. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University 2019;8(2):200-12. (in Thai)